ด่านวัดใจ “เงินดิจิทัล” สว.งัด “ม.245” เตะ เบรก “เพื่อไทย”
เงินดิจิทัล ของรัฐบาลเพื่อไทย แม้อยู่ระหว่าง “เซ็ตอัพ” และไม่เปิดใช้ ดูเหมือนมีอุปสรรค ที่เป็นด่านวัดใจว่าจะเดินหน้าต่อหรือพอแค่นี้ ล่าสุด “สว.” เตรียมใช้ช่อง รธน.ม.245 เพื่อหวัง “ล้มนโยบาย” แล้ว
เงินดิจิทัล ของรัฐบาลเพื่อไทย แม้อยู่ระหว่าง “เซ็ตอัพ” และไม่เปิดใช้ ดูเหมือนมีอุปสรรค ที่เป็นด่านวัดใจว่าจะเดินหน้าต่อหรือพอแค่นี้ ล่าสุด “สว.” เตรียมใช้ช่อง รธน.ม.245 เพื่อหวัง “ล้มนโยบาย” แล้ว
โครงการแจกเงินดิจิทัลหมื่นบาท กลายเป็นประเด็น “สู้รบทางการเมือง” ระหว่าง “พรรคเพื่อไทย” เจ้าของไอเดีย กับ “สมาชิกวุฒิสภา” ก๊วนกมธ.การเมือง ผสมกับ “40สว.”เดิมที่ยังเหลืออยู่
เนื่องจาก “ก๊วนสว.” มองว่า นี่คือ “โครงการหาเสียง” ที่ส่อสร้างความเสียหาย ซ้ำรอย “โครงการรับจำนำข้าว” ในสมัยรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” เมื่อปี 2554 – 2557
พร้อมเสนอให้ “ทบทวนโครงการแจกเงิน” เสียใหม่ และล่าสุดมีข้อเสนอให้ยกเลิก
ขณะที่ “พรรคเพื่อไทย” ฐานะเจ้าของไอเดีย ซึ่งเปิดโครงการต้นร่าง ไว้ตอนหาเสียง เมื่อ พ.ค. 2566 และเมื่อได้เป็น แกนนำตั้งรัฐบาล จึงนำแบบร่างนั้น “เซ็ตอัพ” เป็นนโยบายรัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนให้เป็นจริง
ทว่าเวลาผ่านไป 1เดือนว่า “เงินดิจิทัลหมื่นบาท” นั้นยังเซ็ตอัพไม่เสร็จ ขณะเดียวกันยังมีประเด็นที่ถูก “นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์” ตั้งข้อสังเกตถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น รวมถึงถูกขุดคุ้ยรายละเอียดออกมาจาก “สว. ผสมกับนักเคลื่อนไหวการเมือง” ว่าส่อเอื้อให้กับ “นายทุน” ที่มีความสัมพันธ์กับ “นักการเมืองใหญ่”
ข้อสังเกตที่ถูกส่งผ่านสังคม ในห้วงที่ผ่านมา อาทิ “เงินดิจิทัล” ที่นำมาใช้ อาจมาจาก บริษัทเอกชนที่ “เครือข่ายบิ๊กการเมือง” ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งเงินตระกูลดิจิทัล นั้น “นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์” สว. เปิดข้อสังเกต โดยเทียบเคียงกับ “บิตคอยน์” ที่ถูกใช้เป็นกลไกของ การ “ฟอกขาวให้กับเงินสีเทา”
และเงินดิจิทัล ที่ต้องนำ “เงินสด” ไปซื้อ ซึ่งแหล่งที่มาของเงิน นั้น “สว.เฉลิมชัย เฟื่องคอน” เปิดเผยว่า จะใช้เงินฝาก ของ “ธนาคารออมสิน” ที่ส่อว่าอาจจะขัดกับกฎหมายของการก่อตั้งธนาคาร หรือ กรณีของการใช้เงินกู้ ที่ “สว.” สายคลัง-การเงิน มองว่า ส่อทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจล้มละลายในอนาคตได้ เพราะต้องใช้เม็ดเงินลงทุน ถึง 5.6แสนล้านบาท แม้จะปรับลดลงเหลือ 4แสนล้านบาท
หรือ กรณีของ “ซุปเปอร์แอพลิเคชั่น” ที่เตรียมใช้แทน “แอพฯเป๋าตังค์” โดยต้องพัฒนาขึ้นใหม่ และส่อว่าจะใช้เงินลงทุนส่วนนี้มากถึง 1.2หมื่นล้านบาท เป็นต้น
ขณะที่การเปิดแนวรบของ “สว.” พบการตอบโต้จาก “พรรคเพื่อไทย” ที่ใช้มวลชนเคลื่อนไหวสนับสนุน “เงินหมื่น” ลักษณะเดียวกับ “ชาวนา-เกษตรกร” ที่พาเหรดสนับสนุน “โครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด” หลังจากที่มีกลุ่มนักวิชาการทักท้วง
อย่างไรก็ดี ในฟากของ “สว.” ยังไม่ยอมแพ้ และ ขอสู้ในกลไกของรัฐธรรมนูญ โดย “กรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน” วุฒิสภา ที่มี “เสรี สุวรรณภานนท์” เป็นประธาน เตรียมใช้กลไกตามหน้าที่และอำนาจของ กรรมาธิการ เชิญ 3องค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบการ “ใช้จ่ายเงินแผ่นดิน”
มาแจกแจง รายละเอียดว่า “เงินดิจิทัลหมื่นบาท” ของรัฐบาลเพื่อไทย ที่เตรียมใช้เงินแจก 4แสนล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมกับการพัฒนาระบบอีกกว่าแสนล้านบาท นั้น เข้าข่ายเป็นความเสียหายที่สมควรใช้อำนาจระงับยับยั้งหรือไม่
โดย 3 องค์กรที่ว่าประกอบด้วย “ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน” – “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” (กกต.) และ “คณะกรรมการป้องกกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ” (ป.ป.ช.) เข้าชี้แจงในวันที่ 24 ต.ค. เวลา 09.30 น. ที่รัฐสภา
ล่าสุด “เสรี สุวรรณภานนท์” เปิดเผยว่า กรณีที่ กรรมาธิการ เชิญ 3 องค์กรพูดคุย ไม่ใช่เรื่องการใช้อำนาจของสว. แทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ แต่เป็นไปภายใต้กลไกของรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 ที่ว่าด้วย กลไกขององค์กรอิสระที่มีหน้าที่ เพื่อตรวจสอบ “นโยบายของรัฐบาล” ที่ส่อว่าจะเกิดความเสียหายแก่การเงินการคลังของรัฐ
“สว.ไม่ถึงขั้นแตะเบรคนโยบายแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาล แต่ต้องการทราบรายละเอียดจาก 3 องค์กรอิสระที่มีหน้าที่ว่าได้ทำอะไรไปแล้วบ้างหรือไม่ หลังจากที่มีหลายภาคส่วนทักท้วงในโครงการนี้ ทั้ง ผู้ว่าแบงค์ชาติ นักวิชาการ ประชาชน อีกทั้งในความเห็นต่างที่เกิดขึ้นจากฝ่ายที่ว่ากับนักการเมือง ควรมีความกระจ่างว่า สรุปแล้วจะมีความเสียเกิดขึ้นจริงหรือไม่ เหมาะที่จะเดินหน้าต่อไป หรือ หาข้อยุติเพื่อเป็นประโยชน์ ที่จะระงับ ยับยั้งความเสียหายก่อน ซึ่งงานนี้ต้องมีคนรับผิดชอบ ทั้งในแง่บทบาทของผู้ตรวจสอบด้วยเช่นกัน” เสรี ระบุ
ขณะที่กลไกที่จะกิดขึ้นตามบทบัญญัติ มาตรา 254 “ประธานกรรมาธิการการเมือง” บอกว่า เป็นไปตามวรรคสองของมาตรา 254 คือ ตั้งวงปรึกษาหารือ ร่วกับ กกต. ป.ป.ช. หากที่ประชุมเห็นพ้องกับผลตรวจสอบ ซึ่งเร่ิมจาก “ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน” ที่ต้องตรวจสอบก่อนและเห็นว่า “ก่อให้เกิดความเสียหาย” จึงเรียกประชุมเพื่อขอ “มติ” หากเป็นพ้องร่วมกันต้องทำหนังสือแจ้งไปยัง “สภาฯ-สว.-คณะรัฐมนตรี” เพื่อทราบ โดยไม่ชักช้า และให้เปิดเผยผลตรวจสอบกับประชาชนเพื่อทราบ
ส่วนวิธีการ-รายละเอียดกำหนดไว้ใน “พ.ร.ป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2561” มาตรา 8 ซึ่งประกกอบด้วย 1.ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบการรกระทำที่ไม่เป็นไปตามมกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ และอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่การเงินการคลังของรัฐอย่างร้ายแรง ต่อกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
2.กรณีที่กรรมการตรวจเงินแผ่นดินเห็นพ้องกับผลตรวจสอบ ให้จัดประชุมร่วมกับ “กกต.” และ “ป.ป.ช” เพื่อหารือร่วมกัน และให้ลงมติว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ โดยใช้เกณฑ์ 2 ใน 3 เมื่อมติเป็นไปตามเกณฑ์ จึงให้ 3ประธานฯ ลงนามหนังสือส่งไปยัง สภาฯ -สว. ครม. – ประชาชน
ทั้งนี้ในกฎหมายประกอบกำหนดด้วยว่า “กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน-กรรมกการ กกต.-กรรมการป.ป.ช.” ทุกคนต้องร่วมประชุม หากกรรมการไม่มาโดยไม่มีเหตุผลอันควร หรือมาประชุมแล้วไม่ลงคะแนนหรืองดออกเสียง ให้ถือว่าจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง
ถือว่า เป็นบทบัญญัติทางกฎหมาย ที่บังคับอย่างชัดแจ้งให้ “องค์กรที่มีหน้าที่” ต้องทำตามหน้าที่และอำนาจของตนเอง ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยเป็น “1ในมาตรการปราบโกง” ที่ตั้งโจทย์มาจาก “โครงการรับจำนำข้าว” ซึ่งเขียนไว้ใน รัฐธรรมนูญ ฉบับ “คสช.” ที่ให้ “มีชัย ฤชุพันธุ์” อดีตประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ออกแบบ
ในประเด็นที่ “กรรมาธิการการเมือง” เชิญ 3 องค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบตามมาตรา 245 ในรัฐธรรมนูญ ปฏิเสธไม่ได้ว่า นี่เป็นกระบวนการ “หาพวก” ตามกฎหมายสูงสุด ที่จะยืนยันในความคิด ความเห็นว่า “นโยบายแจกเงินดิจิทัล” นั้น ไม่ควรเข็นขึ้นเขาต่อไป
แม้กลไกของรัฐธรรมนูญ จะไม่ได้กำหนดบทลงโทษไว้อย่างชัดแจ้งว่า “รัฐบาล” ต้องปฏิบัติตาม เมื่อมี “คำเตือน” จากองค์กรที่มีหน้าที่และอำนาจ
ทว่า “เสรี” มองว่า “ไม่บังคับให้ทำตามก็จริง แต่หากเสียหายเกิดขึ้น ผลลัพท์คือ ต้องมีคนติดคุก แม้ขณะนี้จะไม่มีการกระทำเกิดขึ้น หรือส่อเป็นการทุจริตที่เห็นผลเหมือนโครงการรับจำนำข้าว แต่ข้อสงสัยที่เกิดขึ้นกับโครงการต้องหาข้อยุติ และต้องไม่ทำให้เกิดความเสียหายกับชาติและประชาชน”
ทว่าในบทสรุปของเรื่องนี้ต้องติดตามว่า “เพื่อไทย” จะทำอย่างไร เพราะขณะนี้ต้องยอมรับทิศทางว่า “ลุยต่อ” หากหยุด เท่ากับว่า ต้องจ่าย “ค่าเสียหน้าอย่างรุนแรง” ในทางการเมือง.