ข่าวสารกรุงเทพฯ

“ปลาตะเพียน” ปลาพื้นเมืองคู่ครัวไทย “ขุนหลวงท้ายสระ” โปรดเสวย ในอดีตใครกินต้องโทษปรับ


ปลาตะเพียนขาว หรือ ปลาตะเพียนเงิน ที่เรียกติดปากกันสั้น ๆ ว่า “ปลาตะเพียน” ภาคอีสาน เรียกว่า “ปลาปาก” เป็นปลาพื้นเมืองของไทย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus gonionotus พบได้ในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย

ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองน้ำจืดของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองน้ำจืดของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองน้ำจืดของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย

อ่านข่าว : One Day Trip นั่ง “รถไฟลอยน้ำเที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์” ปี 2566

เชื่อกันว่าปลาตะเพียนอยู่คู่กับ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ในแถบภูมิภาคส่วนนี้มานานหนักหนาแล้ว นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยหรืออาจจะก่อนกว่านั้น

ปลาตะเพียน ปลาพื้นเมืองคู่ครัวไทย อดีตเคยหวงห้าม ใครกินต้องโทษปรับ

ปลาตะเพียน ปลาพื้นเมืองคู่ครัวไทย อดีตเคยหวงห้าม ใครกินต้องโทษปรับ

ปลาตะเพียน ปลาพื้นเมืองคู่ครัวไทย อดีตเคยหวงห้าม ใครกินต้องโทษปรับ

“ขุนหลวงท้ายสระ” โปรดเสวย “ปลาตะเพียน”

ในสมัยอยุธยาตอนปลาย จากพงสาวดาร ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสและฉบับพระราชหัตถเลขา มีข้อความต้องกันอยู่ว่า สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ชอบเสวยปลาตะเพียน ถึงกับตั้งกำหนดโทษแก่คนที่กินปลาตะเพียนว่า จะต้องถูกปรับถึง 5 ตำลึง และในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง) ได้พรรณนาถึงฝูงปลามีความว่า

“เทโพและเทพา ตะเพียนกาพาพวกจร
อ้ายบ้าปลาสลุมพอน ผักพร้าเพรี้ยแลหนวดพราหมณ์
เทโพพาพวกพ้อง เทพา
ปลาตะเพียนปลากาพา คู่เคี้ย
สลุมพอนอ้ายบ้าปลา หลายหมู่
ปลาผักพร้าม้าเพรี้ย ว่ายไล่หนวดพราหมณ์”

ขุนหลวงท้ายสระ โปรดเสวยปลาตะเพียน

ขุนหลวงท้ายสระ โปรดเสวยปลาตะเพียน

ขุนหลวงท้ายสระ โปรดเสวยปลาตะเพียน

นับว่า ปลาตะเพียน เป็นปลาน้ำจืดคู่บ้านคู่เมืองโดยแท้และเป็นปลาที่สามารถนำมาเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ได้ง่าย จึงเป็นปลาพื้นเมืองที่ได้รับการคัดเลือก ให้ส่งเสริมในการเพาะเลี้ยงอีกชนิดหนึ่ง การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนนั้น ได้ดำเนินการเป็นครั้งแรก ก่อนปี พ.ศ.2503 ที่สถานีประมง (บึงบอระเพ็ด) นครสวรรค์ ต่อมาการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้รับการพัฒนา ทั้งวิธีเลียนแบบธรรมชาติและผสมเทียม ซึ่งสามารถเผยแพร่และจำหน่ายอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

อ่านต่อ : หนาวนี้เที่ยว “ทุ่งดอกบัวตอง 2566” บนดอยแม่อูคอ จ.แม่ฮ่องสอน

รูปร่างลักษณะปลาตะเพียน ปลาน้ำจืดคู่ครัวไทยมาอย่างยาวนาน

รูปร่างลักษณะปลาตะเพียน ปลาน้ำจืดคู่ครัวไทยมาอย่างยาวนาน

รูปร่างลักษณะปลาตะเพียน ปลาน้ำจืดคู่ครัวไทยมาอย่างยาวนาน

รูปร่างลักษณะปลาตะเพียน

ปลาตะเพียน มีลักษณะลำตัวแบนข้าง หัวเล็ก ปากเล็ก ริมฝีปาก ขอบส่วนหลังโค้งยกสูงขึ้นความยาวจากสุดหัวจรดปลายหาง 2.5 เท่าของความสูง จะงอยปากแหลม มีหนวดเส้นเล็กๆ 2 คู่ มีเกล็ด ตามแนวเส้นข้างตัว 29 -31 เกล็ด ลำตัวมีสีเงินแวววาว ส่วนหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ส่วนท้องมีสีขาว ที่โคนของเกล็ดมีสีเทาจนเกือบดำ ปลาตะเพียน ซึ่งขนาดโตเต็มที่จะมีลำตัวยาวสูงสุดถึง 50 เซนติเมตร

ปลาตะเพียน มากประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการ

ปลาตะเพียน มากประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการ

ปลาตะเพียน มากประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการ

ประโยชน์-คุณค่าทางโภชนาการ

ปลาตะเพียนสดน้ำหนัก 100 กรัม จะให้คุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้

  • พลังงาน 110 กิโลแคลอรี
  • น้ำ 74.7 กรัม
  • โปรตีน 20.4 กรัม
  • ไขมัน 3.2 กรัม
  • กรดไขมันโอเมก้า 3 0.24 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 0.1 กรัม
  • แคลเซียม 117 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 236 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 5.6 มิลลิกรัม
  • ไทอะมิน (วิตามินบี 1) 0.03 มิลลิกรัม
  • ไรโบฟลาวิน (วิตามินบี 2) 0.01 มิลลิกรัม
  • ไนอะซิน (วิตามินบี 3) 2.7 มิลลิกรัม

อ่านข่าว : รู้จัก “ทุ่งลาวามอส” สิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติแห่งไอซ์แลนด์

ปลาตะเพียนเงินสามารถรักษาอาการ ความอ่อนแอของม้าม และกระเพาะอาหาร สูญเสียความกระหาย อ่อนแอและท้องเสีย ดับความร้อนในท้อง ให้ความชุ่มชื่นของไต และความชุ่มชื่นผิวและบำรุงผิว 

เติมพลังของไต ขับปัสสาวะและบรรเทาอาการไอ หอบหืดและโรคอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถรักษาอาการปวดท้อง หรือโรคกระเพาะเรื้อรังที่เกิดจากอาหารไม่ย่อย

ปลาตะเพียนเงินอุดมไปด้วยโปรตีน และกรดอะมิโนมีผลอย่างชัดเจน ในการส่งเสริมพัฒนาการทางจิตใจ ลดคอเลสเตอรอล ลดความหนืดของเลือด และป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง ป้องกันมะเร็ง และส่งเสริมพัฒนาการของสมอง

ปลาตะเพียนเงินมีโอเมกา 3 ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สามารถ ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้นการบริโภคปลาตะเพียนเงินในระยะยาว จึงช่วยป้องกันมะเร็งได้อย่างมาก ดูแลผิวสวย เมื่อรับประทานปลาตะเพียนเงิน ผสมน้ำมันงา จะมีผลต่อการรักษาอาการผิวหยาบกร้าน ผมแห้ง และหลุดร่วงง่าย 

เมนูยอดฮิต

  • ปลาตะเพียนต้มเต้าเจี้ยว
  • ต้มยำปลาตะเพียน
  • ปลาตะเพียนนึ่ง
  • ปลาตะเพียนต้มเค็ม
  • ปลาตะเพียนทอดกระเทียม
  • ปลาตะเพียนทอดขมิ้น
  • ปลาส้ม

ต้มยำปลาตะเพียนรสเด็ด

ต้มยำปลาตะเพียนรสเด็ด

ต้มยำปลาตะเพียนรสเด็ด

ปลาตะเพียนแปรรูปเป็นเมนูปลาส้ม

ปลาตะเพียนแปรรูปเป็นเมนูปลาส้ม

ปลาตะเพียนแปรรูปเป็นเมนูปลาส้ม

ที่มา : กรมประมง , โรงเรียนบ้านควนตม , สำนักโภชนาการ กรมอนามัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ลาบปลาตะเพียน สูตรเด็ดของไมค์ ภิรมย์พร

เปิดสูตร “ต้มยำปลาตะเพียน” ทำตามง่ายๆ

ปลาตะเพียนต้มเค็ม ทำอย่างไร ใส่เครื่องปรุงอะไรบ้าง

ปลาส้มปลาตะเพียนอินทรีย์ จ.ยโสธร

สายแซ่บถูกใจเมนูนี้ “ก้อยปลาตะเพียนใส่มดส้ม”

 



Source link