ข่าวสารกรุงเทพฯ

‘ศุภวุฒิ’ ฟันธง ดบ.ระยะยาวไทย จ่อพุ่งแตะระดับเดียวกับสหรัฐ หากยังขาดดุลต่อเนื่อง


“ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ” ฟันธง “ดอกเบี้ยระยะยาว” ของไทยจ่อปรับขึ้นแตะระดับเดียวกันกับสหรัฐหากรัฐบาลยังขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง ขณะที่ “โฮเวิร์ด มาร์คส” ชี้ทั้งโลกจะอยู่ในสภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นอีกยาวนานซึ่งกดดันต้นทุนการกู้ยืมภาคเอกชนต่อเนื่อง

ท่ามกลางเศรษฐกิจทั่วโลกที่ปั่นป่วนจากทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครน ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และสภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น “กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร” จัดงานเสวนาในหัวข้อ “Navigating Market Realities Through Sea Change” 

‘ศุภวุฒิ’ ฟันธง ดบ.ระยะยาวไทย จ่อพุ่งแตะระดับเดียวกับสหรัฐ  หากยังขาดดุลต่อเนื่อง

โดยเป็นการพูดคุยและแชร์ประสบการณ์ของโฮเวิร์ด มาร์คส (Howard Marks) ผู้ก่อตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนโอ๊กทรี (Oaktree) ซึ่งมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) 1.8 แสนล้านดอลลาร์ (ประมาณ 6.66 ล้านล้านบาท) และมีดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ อดีตที่ปรึกษาทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยและที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรเป็นผู้ถามคำถาม

ในช่วงแรกดร.ศุภวุฒิขึ้นมากล่าวเปิดงานโดยเชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจของสหรัฐว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยในภาพรวมไม่แข็งแรงและมีความเปราะบางสูงถึงแม้ว่าช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาจะเกินดุลทางการค้าทว่าภาพรวมยังคงน่าเป็นห่วง

โดยท่ามกลางสภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นในสหรัฐที่ถึงแม้ว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายทางการเงินจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี ที่ 5.5% ดร.ศุภวุฒิระบุว่ามีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยในสหรัฐจะอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอีกระยะหนึ่งเพราะตลาดแรงงานยังคงตรึงตัวอย่างร้อนแรง

ที่สำคัญ จากปัจจัยทั้งหมดทำให้ ดร.ศุภวุฒิเชื่อว่า หากเศรษฐกิจไทยยังขาดดุลทางการค้าแบบต่อเนื่องและไม่สามารถพลิกกลับมาเกินดุล อาจเป็นไปได้สูงว่า “ดอกเบี้ยระยะยาว” จปรับตัวสูงขึ้นใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐและคณะทำงานในธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่มากก็น้อยทราบข้อเท็จจริงข้อนี้อย่างดี 

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่คณะกรรมการนโยบายทางการเงิน (กนง.) ของไทยมีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ไปอยู่ที่ 2.5% ในการประชุมรอบที่ผ่านมา “เพราะข้างในลึกๆ แล้วคณะกรรมการฯ ก็ทราบว่าดอกเบี้ยของไทยต้องปรับขึ้นตามสหรัฐอเมริกา”  

“การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดคือเราซื้อสินค้าและบริการมากกว่าขาย ดังนั้นส่วนที่ขาดไปต้องมาจากการกู้ยืมเท่านั้น แล้วเวลาเขาคิดดอกเบี้ยจะคิดเป็นเรตของไทยซึ่งต่ำหรือเรตของสหรัฐที่อยู่ตั้ง 5% ดังนั้นถ้าเราไม่เกินดุล ส่งออกไม่ฟื้น ดอกเบี้ยระยะยาวของไทยจะค่อยๆ สูงขึ้นไปหรือไม่ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูง”

ในประเด็นต่อเนื่องเรื่องอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นโฮเวิร์ด กล่าวในเซสชันต่อมาว่า ตั้งแต่ช่วงปี 1980 เป็นต้นมาลากยาวมาจนก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งโลกอยู่ในสภาวะ “Easy Money” หรือช่วงที่การหาเงินเป็นเรื่องง่ายเพราะทั้งโลกอยู่ในสภาวะดอกเบี้ยต่ำ

‘ศุภวุฒิ’ ฟันธง ดบ.ระยะยาวไทย จ่อพุ่งแตะระดับเดียวกับสหรัฐ  หากยังขาดดุลต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่นหากในช่วงเวลาปกตินักลงทุนต้องการซื้อบริษัทหนึ่งในราคา 100 บาท ก็ออกเงินตัวเอง 50 บาทและขอสินเชื่อจากธนาคารอีก 50 บาทด้วยดอกเบี้ย 10% ต่อปีโดยตั้งไว้ว่าทุกปีจะได้กำไร 10  บาทดังนั้นจึงแบ่งเป็น จ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคาร 5 บาทและเข้ากระเป๋านักลงทุน 5 บาท 

โดยในช่วง 40 ปีที่แล้วในสภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำก็จะยิ่งทำให้อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) เพิ่มขึ้นมาอีกอย่างมีนัยสำคัญ และความเสี่ยงในการผิดนัดชำระ (Default) ก็น้อยลงเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ในช่วงนั้นนักลงทุนจะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้มหาศาล

ทว่าในสภาวะปัจจุบันหลังจากปี 2565 เป็นต้นมาสหรัฐปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องจนมาแตะระดับสูงสุดประมาณเดือน ก.ค. ปี 2566 ที่ 5.5% และล่าสุดก็ยังมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงเช่นนี้อยู่พร้อมทั้งยังเปิดประตูสำหรับการขึ้นดอกเบี้ยต่อในอนาคตหากมีสัญญาณเงินเฟ้อ ทั้งหมดก็ทำให้ต้นทุนการกู้ของทั้งในสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศทั่วโลกขยายตัวขึ้นอย่างร้อนแรง 

‘ศุภวุฒิ’ ฟันธง ดบ.ระยะยาวไทย จ่อพุ่งแตะระดับเดียวกับสหรัฐ  หากยังขาดดุลต่อเนื่อง  อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทั้งโลกจะตกอยู่ในสภาวะยากลำบาก ทว่าโฮเวิร์ดระบุว่าเขามอง “วิกฤติ” ครั้งนี้เป็นโอกาสในการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน “มูลค่าหนี้ของบริษัทที่มีปัญหา” หรือ Distressed Debt มากกว่าการลงทุนในหุ้น แม้ว่านักลงทุนกระแสหลักจำนวนมากจะไม่กล้าลงทุนในสินทรัพย์ดังกล่าวก็ตาม

โดยเมื่อพูดถึงการบริหารความเสี่ยงต่อมูลหนี้เหล่านั้นโฮเวิร์ดระบุว่า คณะทำงานจะเลือกบริษัทที่ “พื้นฐานดี” แต่ “งบดุล” แย่ จากนั้นจึงปล่อยสินเชื่อให้พวกเขา เพราะท้ายที่สุดอย่างน้อยถ้าเกิดการผิดนัดชำระหนี้ เขาก็ยังมีโอกาสได้ตัวบริษัทมาในกระบวนการยื่นฟ้องล้มละลาย

ทั้งนี้ โฮเวิร์ดกล่าวเสริมว่าปรัชญาการลงทุนของโอ๊กทรีไม่ใช่การตัดสินใจภายใต้ปัจจัยด้านเศรษฐกิจในภาพใหญ่ แต่พิจารณาธุรกิจจากล่างขึ้นบนเพื่อหาบริษัทที่มีพื้นฐานดีและหลักทรัพย์ของบริษัทไม่ได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของธุรกิจ

ในขณะเดียวกันโฮเวิร์ดเปรียบเทียบข้อดีของการลงทุนในมูลหนี้ของบริษัทที่อยู่ในวิกฤติกับการลงทุนในตลาดหุ้น โดยอ้างอิงคำพูดของคุณครูของปู่วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffet) นักลงทุนชื่อดังระดับตำนานว่า

“การลงทุนในหนี้ของบริษัทที่มีปัญหาดีกว่าการลงทุนในหุ้นที่เหมือนเราตื่นมาตอนเช้า ความเสี่ยงของคุณขึ้นอยู่กับอารมณ์ของสิ่งที่เรียกว่า Mr. Market เช้าวันไหนที่ Mr. Market อารมณ์ดี เราก็จะทำกำไรได้ แต่วันไหนที่ Mr. Market อารมณ์เสีย วันนั้นทั้งหมดก็อาจทำให้เขาขาดทุนได้”



Source link