ข่าวสารกรุงเทพฯ

7 ข่าวเด่นวงการยานยนต์ไทยแห่งปี 2023


ตลอดปี 2023 ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมายหลายจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศมากมายส่งผลปรับตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Cars 2023ทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่เติบโตได้ตามที่คาดการความมั่นใจผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัว เหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ ราคาพืชผลทางการเกษตร การประมูลงานจากทางภาครัฐ การเมือง จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาไทยทำได้ไม่ตรงตามเป้า และความกังวลต่อความสามารถในการผ่อนชำระของผู้รับสินเชื่อทำให้เกิดความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ตลาดรถยนต์ในไทยไม่โตตลอดปี2023 ที่กำลังจะผ่านพ้นไปทางทีมงาน Car2Day ขอรวบรวม 7 ที่สุดเรื่องเด่นแห่งปีสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยว่ามีอะไรบ้าง เริ่มกันที่

1.ยอดขายรถในประเทศ เก๋งโต ปิกอัพและพีพีวีร่วง

Toyotaสถานการณ์ยอดขายรถยนต์ในประเทศตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน ลดลงไป 7.7% รวมทั้งสิ้น 707,454 คัน ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 266,365 คัน เพิ่มขึ้น 10.8% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 441,089 คัน ลดลง 16.2% รถปิกอัพ 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ 301,001 คัน ลดลง 26.9% (รวมรถยนต์พีพีวี 55,806 คัน ลดลง 5.0%) ส่วนในเดือนพฤศจิกายน ลดลง 9.8% รวมทั้งสิ้น  61,621 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาและเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 4.51% ยอดขายรถยนต์นั่งเติบโตต่อเนื่องด้วยยอดขาย 24,567 คัน เติบโต 21.2% ส่วนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์สวนทางด้วยยอดขาย 37,054 คัน ลดลง 22.8% ตลาดรถปิกอัพยังไม่ฟื้นตัวด้วยยอดขาย 22,104 คัน ลดลง 39.1%

เรียกว่าตกเกือบทุกแผงยกเว้นกลุ่มรถยนต์นั่งที่ได้อานิสงส์จาก Eco Car เช้ามาช่วยชีวิตไว้ถึงแม้กลุ่มรถปิกอัพร่วงเพราะความเข้มงวดของเหล่าสถานบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อยากขึ้นพราะหนี้ครัวเรือนสูงเป็นอุปสรรคทำให้ยอดขายทำได้เท่านี้และตลอด 11 เดือนที่ผ่านมามี 2 แบรนด์รถยนต์ที่เป็นที่หนึ่งของแต่ละกลุ่มเริ่มจาก Toyota ที่กวาดในส่วนตลาดรถยนต์รวม รถยนต์นั่ง รถยนต์พีพีวี และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ส่วนรถปิกอัพนั้นเป็น ISUZU เช่นเคย

ISUZUจับตายอดขายเดือนธันวาคมอีก 147,546 คัน ประกอบด้วยรถยนต์นั่ง 50,535 คัน และ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 97,011 คัน จะสามารถทำได้ตามเป้าจนครบปีอยู่ที่ 855,000 คัน เพิ่มขึ้น  0.7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา” ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 316,900 คัน  เพิ่มขึ้น +19.6 % รถเพื่อการพาณิชย์ 538,100 คัน ลดลง -7.9 % และอานิสงส์ยอดจองของงาน Motor Expo 2023 ทั้งหมด 60,621 คัน รวมยอดจองของรถยนต์และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 41.74 % แยกในส่วนของยอดจองรถยนต์นั้นอยู่ที่ 53,248 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 45.2 % และรถจักรยานยนต์ 7,373 คัน จะดันให้ทั้งปีทำตามเป้าหรือไม่ต้องติดตาม

2.รถอีวีจีนแห่ลดราคาพาตลาดป่วน

NETA V

หลังจากที่เปิดมาตรการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในไทยระยะแรกเวอร์ชัน 3.0 (ปี 2022-2023) ตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์ 2022 (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่พฤษภาคม 2022) ทำให้หลายค่ายทั้งจีน ญี่ปุ่น ยุโรป เนื้อหอมต่างส่งรถยนต์ไฟฟ้ามาหลากหลายรุ่นหลากหลายแบบนอกจากจะมี MG กับ GWM แล้วตามมาด้วย NETA, BYD, VOLT, Toyota, Mercedes-Benz, BMW  เข้ามาเป็นตัวเลือกตอบโจทย์ทั้ง VOLT City EV, NETA V, BYD ATTO 3, Toyota bZ4X, MG4 Electric พอมาปี 2023 ได้เห็นมากขึ้นทั้ง MG ES, MG Maxus 9,BYD Dolphin, BYD SEAL, WULING Air EV, EQE, EQE SUV IONIQ 5 ฯลฯ

เนื่องด้วยมาตรการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าระยะแรกจะสิ้นสุดภายในสิ้นเดือนธันวาคม2023 โดยเฉพาะค่ายรถจากจีนที่นำเข้ามาขายจะต้องผลิตในประเทศภายในปี 2024 ที่ต้องนำเข้า 1 คัน ผลิตคืน 1 คัน (นำเข้า 1 คัน ผลิตคืน 1.5 คัน ภายในปี 2025) และเข้าสู่มาตรการฯระยะที่สองเวอร์ชัน 3.5 (ปี 2024-2027) เริ่มใช้ตั้งแต่ 2 มกราคม 2024 โดยมีเป้าหมายการผลิตรถยนต์นั่งและรถกระบะ 225,000 คัน รถจักรยานยนต์ 360,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 18,000 คัน ภายในปี 2025 รวมถึงการผลิตแบตเตอรี่ เพื่อตอบสนองการผลิตในประเทศ โดยรัฐลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนรถ EV เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม EV ในไทย (นำเข้า 1 คัน ผลิตคืน 2 คัน ภายในปี 2026 นำเข้า 1 คัน ผลิตคืน 3 คัน ภายในปี 2027 )

MGมีการจัดโปรลดแหลกไม่เกรงใจใครส่งท้ายมาตรการ 3.0 เริ่มที่เจ้าแรกๆที่เซ็น MOU อย่าง MG ประกาศลดราคา MG ZS EV ลงไปอีก 9 หมื่นกว่าบาท เริ่ม 859,000-929,000 บาท MG4 Electric ลดไปอีกหนึ่งแสนบาทเริ่ม 769,000-869,000 บาท ตามมาด้วยค่ายที่เซ็น MOU

ไล่เลี่ยกันอย่าง GWM สวนกระแสประกาศไม่ปรับราคาน้องเหมียว ORA Good Cat และ ORA Good Cat GT ตามนโยบาย “ONE PRICE” ตอบโจทย์การซื้อรถของผู้บริโภคที่ไม่ว่าจะซื้อที่ไหนก็ราคาเดียว ข้อเสนอเดียวกันทั่วประเทศแบบดีที่สุดด้วยแคมเปญช่วยผ่อนสุดพิเศษ รวมมูลค่าแคมเปญรวมสูงสุดกว่า 223,000 และ 366,000 บาทตามลำดับ ตามมาด้วยค่าย NETA ลดโหดไม่ถึงห้าแสนเพียง 499,000 บาท พร้อมของแถมหลายรายการสำหรับ NETA V

BYDBYD ลดโหด 100,000 บาท พร้อมของแถมหลายรายการสำหรับ BYD ATTO3 และยังมีการมาน้องใหม่สองแบรนด์อย่าง AION เปิดมากับ AION Y Plus ตั้งราคามาจนคนไทยร้องยี้ว่าแพงไปสุดท้ายจัดโปรฟ้าผ่าลดมาแสนเดียวตั้งแต่ 899,900-999,900 บาท มียอดจองที่งาน Motor Expo สูงถึง 4,568 คัน และ CHANGAN ที่มาพร้อมมอบสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ซื้อรถยนต์ DEEPAL มูลค่ารวมกว่า 250,000 บาท จนกวาดยอดจองของงาน Motor Expo ด้วยตัวเลข 3,549 คันHonda

การจัดโปรโหดครั้งนี้ทำเอาตลาดรถยนต์ปั่นป่วนกันทั่วหน้า จนคู่แข่งค่ายสันดาปปรับราคาเพื่อสู้อีวีอย่างเช่น MG ที่ต้องปรับราคาสู้กันเองและยังสู้กับน้องใหม่อย่าง Toyota Yaris Cross เริ่มที่เอสยูวีเล็ก MG ZS เบนซิน 1.5 เริ่มต้น 629,000-689,000 บาท MG VS HEV ลดเหลือ 739,000-819,000 บาท และพี่ใหญ่ MG HS 1.5 Turbo เริ่ม 749,000-799,000 บาท แม้แต่ Honda ใช้อิทธิฤทธิ์จัดเต็มข้อเสนอสุดพิเศษ ดอกเบี้ย 0% พร้อมมอบ Honda Exclusive Care เพื่อให้ลูกค้าเป็นเจ้าของรถยนต์ฮอนด้าได้ง่ายขึ้นมูลค่ารวมสูงสุด 100,000-200,000 บาท กวาดยอดจองเป็นอันดับต้นๆในงาน Motor Expo ถึง 6,149 คัน

3.DAIHATSU ทำพิษ Toyota พลอยซวย เซ่นเรื่องโกงทดสอบความปลอดภัย

นับเป็นค่ายรถยนต์ที่มีข่าวอื้อฉาวตลอดปีนั่นก็คือค่ายรถเล็กในเครือ Toyota อย่าง DAIHATSU ถึงสามเรื่อง นับตั้งแต่ 28 เมษายน กับกรณีโกงการทดสอบความปลอดภัยจากชิ้นส่วนของประตูหน้าของ Toyota Yaris ATIV จากการที่พนักงานไปกรีดจนเกิดรอยบากที่ชุดแผงประตูในรถทดสอบซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ของการชนทำให้เกิดขอบที่แหลมคมและก่อให้เกิดอันตรายและบาดเจ็บต่อผู้โดยสารและคนขับเมื่อถุงลมนิรภัยด้านข้างทำงาน

แต่กลายเป็นว่าข้อมูลของการทดสอบการชนด้านข้างไม่ถูกต้อง ทำให้ Daihatsu ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาและในการขอการรับรอง ได้ดำเนินการทดสอบการชนด้านข้างด้วยชิ้นส่วนที่ผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นการภายในและยืนยันว่าเป็นไปตามข้อกำหนด UN-R95 (Protection of the Occupants in the event of a Lateral Collision) ทั้งหมดและทางโตโยต้าได้ดำเนินการทดสอบอีกครั้งโดยใช้รถที่ผลิตและจำหน่ายจริงในไทย โดยมีหน่วยงานภายนอกที่มีอำนาจรับรองมาตรฐานโดยหยุดขายชั่วคราวตั้งแต่ 29 เมษายน

จนทำให้นาย อากิโอะ โตโยดะ ประธานคณะกรรมการบริหาร Toyota บินตรงจากญี่ปุ่นเพื่อมางานแถลงข่าวที่เมืองไทยรวมถึงทีมผู้บริหารที่เกี่ยวข้องจากญี่ปุ่นและไทยเพื่อยืนยันว่าลูกค้าที่ครอบครองก่อนหน้าเหตุการณ์ทั้งหมด 39,757 คันยังคงสามารถใช้งานรถรุ่นนี้ต่อไปได้อย่างสบายใจไร้ข้อกังวลเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม จนเข้าพบกับทางกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อเข้าไปชี้แจงกรณีความไม่สมบูรณ์ของการทดสอบพร้อมทั้งได้มีการนำรถยนต์รุ่นดังกล่าวมาทำการทดสอบเป็นการภายในและทดสอบโดยบริษัทเอกชนอีกครั้งโดยไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยใดๆและได้นำผลการทดสอบมาชี้แจงให้หน่วยงานภาครัฐของไทยได้ทราบเพื่อขอการอนุมัติรับรองผลการทดสอบการชนครั้งใหม่จากกระทรวงฯเรียบร้อยแล้วจนวันที่ 11 พฤษภาคมกลับมาขายตามปกติ

หนึ่งเดือนถัดไปพบเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของ Daihatsu พัวพันการทุจริตข้อมูลทดสอบการชนด้านข้าง UN-R135  ของ Toyota RAIZE ซึ่งต้องทำทั้งฝั่งคนขับและผู้โดยสารแต่ดันทดสอบการชนแค่ฝั่งผู้โดยสารอย่างเดียวและระบุข้อมูลในผลการทดสอบทั้งสองฝั่งให้เป็นข้อมูลเดียวกันทั้งที่ความจริงต้องคนละข้อมูลจนต้องยุติการขายชั่วคราว

Toyotaและล่าสุด 20 ธันวาคม Toyota VELOZ เป็นหนึ่งใน 64 รุ่น 3 เครื่องยนต์ที่ต้องหยุดขายชั่วคราว เมื่อตรวจพบความไม่เหมาะสมในการเตรียมการทดสอบความปลอดภัยเพื่อขอใบรับรอง จากผลการสอบสวน โตโยต้า ได้รับแจ้งว่ามีการระบุข้อมูลที่ผิดพลาด 1 รายการซึ่งเป็นรุ่น VELOZ จากการส่งข้อมูลที่ไม่ถูกต้องไปยังหน่วยงานที่ออกใบรับรองจากคำว่า ไม่มีตัวปรับเบาะนั่งแนวตั้ง เป็น มีตัวปรับเบาะนั่งแนวตั้ง จนทำให้ Daihatsu ต้องทดสอบซ้ำและได้รับการยืนยันจากหน่วยงานภายนอกและคณะกรรมการจากภายนอกยืนยันว่า ไม่มีปัญหาใดๆ และยืนยันกับลูกค้าที่ใช้ปัจจุบันว่ายังใช้งานได้ตามปกตินั่นเอง

จากสามเหตุการณ์อันอื้อฉาวอาจทำให้ Daihatsu ต้องหยุดชั่วคราวในการประกอบ เสียโอกาสการขาย และชดเชยค่าใข้จ่ายให้กับพนักงานและซัพพลายเออร์มากกว่า 1,000,000,000 Yen หรือราว 242,000,000 บาท ตามข้อมูลของสำนักข่าว Nikkei

4.MG x Nissan สยบข่าวลือตามกระแสโลกออนไลน์

MG5

อีกหนึ่งข่าวในปี 2023 ที่สร้างความเข้าใจผิดต่อแฟนๆค่ายรถยนต์ชาวไทยที่ยังรักชื่นชอบแบรนด์นั้นๆจากกระแสข่าวในโลกโซเชียลที่เผยแพร่ในต่างประเทศหรือในบ้านเราจนเกิดความสับสนมึนงงว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและจะเป็นอย่างไรหลังจากนี้อย่างเช่นข่าวการทดสอบการชนของ MG5 ได้คะแนนศูนย์ดาวความปลอดภัยจากการทดสอบความปลอดภัย ANCAP ออสเตรเลียจนเกิดความกังวลต่อลูกค้าชาวไทย ทำให้ MG ต้องออกโรงแถลงว่า รถยนต์ของเราได้ผ่านการรับรองความปลอดภัย ที่บังคับโดย Australian Design Rules (ADRs) ซี่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับรถยนต์ที่จำหน่ายในออสเตรเลีย และรถที่ทดสอบนั้นเป็นรถนำเข้าจากจีนไม่ใช่ไทย

Nissanและอีกค่ายกับ Nissan เกิดกระแสข่าวเกี่ยวกับการหยุดขาย Nissan Terra ภายในสิ้นปี 2023 จนต้องส่งหนังสื้อไปยังตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งว่ายังคงจำหน่ายในไทยต่อไปยังเป็นหนึ่งในรถยนต์รุ่นหลักของเรา และยังคงเป็นรุ่นที่สำคัญของกลุ่มผลิตภัณฑ์ของนิสสัน เท่ากับว่ายังจำหน่ายต่อไปท่ามกลางสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านมาตรฐานไอเสีย EURO 5 เริ่มใช้ปีหน้า และ EURO 6 ในปีถัดไป

5.สี่แบรนด์ดังรถญี่ปุ่นเตรียมลงทุนผลิตรถอีวีในไทย 1.5 แสนล้านบาท

Toyotaหลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางไปญี่ปุ่นพร้อมพบปะหารือค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นเมื่อช่วงวันที่ 14-18 ธันวาคม โดยได้หารือกับค่ายรถญี่ปุ่นเจ็ดค่ายและจากการหารือระหว่างนายกฯ และบริษัทยานยนต์นี้ ทำให้ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Thailand Board of Investment (BOI) ได้ข้อสรุปว่าภายในระยะเวลา 5 ปี จะมีค่ายรถยนต์สี่รายที่พร้อมขยายการลงทุนสำหรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยด้วยมูลค่าการลงทุนประมาณ 150,000,000,000 บาท ทั้งนี้บางค่ายให้ความเห็นว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตรถปิกอัพไฟฟ้าในช่วง 2 – 3 ปีข้างหน้า โดยมีสี่ค่ายได้แก่

  • Toyota 50,000,000,000 บาท
  • Honda 50,000,000,000 บาท
  • ISUZU 30,000,000,000 บาท
  • Mitsubishi 20,000,000,000 บาท

กลุ่มบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นยังได้นำเสนอโมเดลของการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Swapping) สำหรับรถเชิงพาณิชย์ ซึ่งไทยพร้อมส่งเสริมสภาพแวดล้อมการลงทุนให้กับผู้ลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น โดยจะดำเนินการออกมาตรการยกเว้นวีซ่าให้นักธุรกิจญี่ปุ่นที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยเพื่อติดต่อธุรกิจระยะสั้น

6.Honda e:N1 อีวีไฟฟ้ารุ่นแรกของค่ายและรุ่นแรกของญี่ปุ่นที่ผลิตไทย

Hondaนับค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นค่ายแรกของไทยที่เปิดสายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้านั่นคือ Honda e:N1 ยนตรกรรมเอสยูวีพลังงานไฟฟ้านำพื้นฐานมาจาก Honda HR-V แปลงกายเป็นไฟฟ้าล้วนจากแพลตฟอร์ม e:N Architecture F พร้อมขุมพลังไฟฟ้าล้วนยกชุดมาจาก Honda e:NY1 หรือ Honda e:NS1

ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าถึงสามตัวและแบตเตอรี่ lithium มีความจุ 68.8 kWh 204 แรงม้าที่ 4,621-5,000 รอบต่อนาที แรงบิด 310 นิวตันเมตรที่ 0-4,621 รอบต่อนาที วิ่งไกลสุดต่อการชาร์จหนึ่งครั้งมากกว่า 412 กิโลเมตรตามมาตรฐาน WLTP ขับเคลื่อนล้อหน้า

ให้ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตร ภายใน 7.6 วินาที ชาร์จได้สองรูปแบบทั้งชาร์จกระแสตรง DC CCS2 กำลังสูงสุด 78 kW 0-80% ภายใน 46 นาที และชาร์จกระแสสลับ AC Type 2 กำลังสูงสุด 11 kW 10-80% ภายในเวลา 6.45 ชั่วโมงและระบบความปลอดภัย Honda SENSING ผลิตในไทย ณ โรงงานฮอนด้า สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จ.ปราจีนบุรี เตรียมเปิดตัวและช่องทางจำหน่ายให้ทราบอีกครั้งช่วงไตรมาสแรกในปี 2567 ค่าตัวคาดเริ่มต้น 1.1 ล้านบาท

7.ISUZU D-MAX EV x Toyota Hilux REVO e ปิกอัพไฟฟ้าแดนปลาดิบ

ISUZUค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นพร้อมสู้จีนกับการเปิดเผยข้อมูลปิกอัพไฟฟ้าจากค่าย ISUZU และ Toyota เริ่มที่ ISUZU พร้อมที่จะเปิดตัว ISUZU D-MAX EV ในปี 2025 หลังจากที่ BOI อนุมัติการลงทุนทั้งการผลิตตัวรถและชุดแบตเตอรี่ โดยผลิตที่งาน โรงงานอีซูซุ มอเตอร์ (ประเทศไทย) ประเดิมที่แรกที่นอร์เวย์ ส่วนเมืองไทยแม้จะเป็นฐานการผลิตขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดเป็นสำคัญ

ทางด้าน Toyota เปิดตัว Toyota Hilux REVO e มาตั้งแต่ฉลอง 60 ปี และได้มีการทดลองวิ่งในเมืองไทยมาหลายรอบทั้งรถขนส่งสิ้นค้าในห้าง Makro และรถสองแถวที่พัทยาที่จะเริ่มในปี 2024 โดยสเปกคร่าวๆ อัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตรทำได้ในเวลา 11 วินาที และสามารถวิ่งไกลต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง 300 กิโลเมตร ขับเคลื่อนสองล้อหลังมอเตอร์ไฟฟ้าเดี่ยวจับคู่กับเกียร์อัตโนมัติแบบ Single-speed reduction gear แต่ไม่ได้ระบุถึงความจุแบตเตอรี่ พลังแรงม้า แรงบิด และความสามารถในการบรรทุกสูงสุดเท่าไหร่รวมถึงระยะเวลาในการชาร์จทั้งแบบ CCS2 กระแสตรง DC และกระแสสลับ AC Type 2 และพร้อมที่จะผลิตในอนาคตที่เมืองไทยจะเป็นช่วงปีเดียวกับ D-MAX EV หรือไม่ต้องติดตาม



Source link