กรมสุขภาพจิต เผย คนไทยแชร์ข่าวปลอมมากกว่า 20 ล้านครั้ง ต้นเหตุสำคัญสภาวะทางจิต : PPTVHD36
วันที่ 2 ธันวาคม 2566 ที่ห้องประชุมโรงแรม ทีเค.พาเลซแอนด์คอนเวนชั่น สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย (International Federation of Medical Students’ Associations – Thailand) หรือ TYPI ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.), สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเวทีประกวดนโยบายและนวัตกรรมทางสังคมของคนรุ่นใหม่
อาวดี้ เปิด 3 ดีลฮอต! จัดหนักในงาน Motor Expo 2023
รถเมล์สาย 40 คนขับเผลอเหยียบคันเร่ง พุ่งชนรถเสียหาย 20 คัน เจ็บ 4 คน
ในการแก้ปัญหาสุขภาวะทางจิตในชุมชน ผ่านการจัดทำร่างนโยบายสาธารณะและนวัตกรรมสังคม โดยเสนอผลงานเข้ารอบ 20 ทีมจากทั่วประเทศ พร้อมปาฐกถาพิเศษโดยกรมสุขภาพจิต
ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ ‘ความสำคัญของปัญหา mental wellbeing ในระดับประเทศและบทบาทสำคัญของเยาวชนในการร่วมแก้ไขปัญหา’ โดยยกงานวิจัยเรื่อง Futures of Mental Health in Thailand 2033 ที่รวบรวมสถานการณ์และสถิติในด้านต่าง ๆ เช่น การทำงาน ศักยภาพด้านดิจิทัล สถานการณ์ทางจิตของวัยรุ่น การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ที่ล้วนมีความเชื่อมโยงไปสู่เรื่องสุขภาพจิต โดยเฉพาะเรื่องการเผยแพร่ข่าวปลอม พบว่าในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2565 มีข่าวปลอมในประเทศไทยถูกแชร์มากกว่า 20.3 ล้านครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะข่าวปลอมรวมไปถึงการหลอกลวงให้เกิดความเสียหาย เป็นตัวกระตุ้นความเครียดในรูปแบบใหม่ ซึ่งกรมสุขภาพจิตพยายามตามให้ทัน แต่ก็มักจะมีการพัฒนารูปแบบใหม่อยู่เสมอ เนื่องจากผู้คนใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากขึ้น เช่นเดียวกับข่าวเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคม ข่าวการเมือง ข่าวอาชญากรรม ข่าวบันเทิง โดยเฉพาะข่าวเหตุการณ์สำคัญๆ ที่สะเทือนความรู้สึกของคนไทยและทั่วโลก อย่างเหตุการณ์ใน จ.หนองบัวลำภู และเหตุการยิงที่พารากอน ซึ่งตลอดการรายงานข่าวจะเห็นว่าประชาชนจะเกิดความรู้สึกต่อเรื่องราวนั้นๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเครียดและกระทบต่อสุขภาพจิตได้
“1 ใน 8 ของประชากรโลก หรือคิดเป็นตัวเลข 1,000 ล้านคน กำลังเผชิญปัญหาสุขภาพจิต ในทุก 40 วินาทีมีคนฆ่าตัวตาย 1 คน สำหรับประเทศไทย 9.55 นาที จะมีคนพยายามฆ่าตัวตาย 1 คน หรือ 5,500 รายต่อปี และเป็นการฆ่าตัวตายที่สามารถหยุดยั้งได้ ถ้าเราช่วยเหลือกัน ใน 10-20 ปีก่อน เราไม่เคยมีการจัดเวทีเยาวชนร่วมสร้านโยบาย รวมถึงอาจไม่มีเยาวชนกล้าออกมาบอกว่าอยากทำนโยบายนั้นนโยบายนี้ และในฐานะจิตแพทย์รู้สึกใจฟูมากที่น้อง ๆ หันมาทำเรื่องนี้ ไม่รู้ว่าในอนาคตนักศึกษาแพทย์ที่มาแสดงผลงานจะจบไปแล้วอยากเป็นจิตแพทย์หรือไม่ แต่แพทย์ทุกคนมีส่วนในการร่วมทำงานด้านสุขภาพจิตได้ในสายงานของตัวเอง เราไม่ได้ต้องการจิตแพทย์เต็มประเทศ แต่เราต้องการให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาวะจิตที่ดีได้” ดร.นพ.วรตม์ กล่าว
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากการรับฟังผลงานที่เยาวชนนำเสนอเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมมาก เพราะได้เห็นความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนของสมาชิกในทีม ผลงานไม่ได้เกิดจากการคิดคนเดียว ได้เห็นทำงานอย่างมีระบบ ซึ่งเป็นไปตามโจทย์ของคณะกรรมการ และที่สำคัญคือการตั้งหัวข้อเกี่ยวกับสุขภาวะทางจิต โดยให้ไปวิเคราะห์ชุมชน เก็บข้อมูลแล้วนำมาสะท้อนปัญหาและคิดนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหานั้น ๆ จากจุดเด่นในมุมมองของภาครัฐอย่าง สปสช. ที่เข้ามาร่วมเป็นกรรมการ เห็นว่าเสนอเยาวชนเหล่านี้สามารถนำไปขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นได้จริง และผลงานดีจะสำเร็จได้ต้องอาศัยงบประมาณสนับสนุน ซึ่ง สปสช. มีงบประมาณที่จะส่งเสริมการทำงานกับท้องถิ่นอยู่แล้ว ในอนาคตอาจมีการหารือต่อยอดจากผลงาน 20 ชิ้น ซึ่งเชื่อว่าสามารถเขียนโครงการของบประมาณเพื่อดำเนินการได้เลย
“ไอเดียของเยาวชนวันนี้สะท้อนให้เห็นว่า เรื่องสุขภาพจิตนอกจากเป็นเรื่องใหญ่แล้วยังเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก เช่น ปัญหายาเสพติดในชุมชน เกิดจากชุมชนขาดเกราะป้องกันที่แข็งแรงมากพอ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในชุมชน ที่สำคัญเราประมาทความคิดของเยาวชนไม่ได้เลย ในอนาคตต้องฟังเด็กให้มากขึ้น เพราะเรื่องนี้ขับเคลื่อนได้ด้วยแนวคิดและประสบการณ์ของเยาวชน และการจะช่วยให้ขับเคลื่อนไปในทางที่ถูกต้อง คือการจัดเวทีแบบนี้ซึ่งจะทำให้ได้แลกเปลี่ยนกับผู้ใหญ่ด้วย ไม่ใช่เป็นการสอนแต่เป็นการแลกเปลี่ยนจากสิ่งที่เราเคยพบเจอมาว่าเราคิดและมองเห็นอะไร เพื่อนำคำแนะนำไปปรับปรุง ยอมรับว่าวันนี้ได้รับไอเดียที่จุดประกายอย่างมาก คิดว่าจะเข้าไปขอถามเด็ก ๆ หลังจบเวทีว่าอยากทำจริงไหมจะช่วยหางบประมาณให้” ทพ.อรรถพร กล่าว
ด้าน ดร.ชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า ในมิติการทำงานของ สสส. ตามกฎหมายทำงานที่เน้นในเรื่อง ‘สร้าง นำ ซ่อม’ คือการดูแลสุขภาวะของประชาชนส่วนใหญ่ที่ยังไม่ป่วย โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนทางใจ เพื่อลดปัญหาภาวะซึมเศร้าภาวะเครียด ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหา หรือโรคร้ายแรงตามมา ซึ่งการประกวดนวัตกรรมและนโยบายครั้งนี้ ถือว่าเป็นการรวมกำลังจากคนที่อยู่ในชุมชน นักศึกษาแพทย์ นักศึกษาด้านอื่น ๆ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญที่มาให้คำแนะนำ จะช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเข้ามาดูแล เพราะลำพังจิตแพทย์ในไทยมีน้อยมาก เพราะฉะนั้นการทำงานผ่านชุมชนเพื่อจะให้เกิดนวัตกรรมเพื่อคนหมู่มากก็เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำ สสส.จึงมองเห็นภาพการเคลื่อนไหวที่ไม่ใช่นักจิตวิทยา ซึ่งมีความอ่อนไหวและมีจำนวนไม่เพียงพอต่อประชากร ปัจจุบันมีตัวเลขจากกรมสุขภาพจิตพบว่า นักจิตวิทยา 1 คน ดูแลประชาชนมากกว่า 130,000 คน ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้ ซึ่งการใช้คนในชุมชนดูแลคนที่มีความเสี่ยงก็เป็นทางออกที่ดี
“การให้กลุ่มคนที่มีความสนใจในการที่จะจัดการสุขภาพจิตชุมชนได้ นี่คือสิ่งที่ สสส.พยายามมองหา คาดว่าหลังจากนี้จะมีการต่อยอดนวัตกรรมและนโยบายของน้อง ๆ มีการประชุมหารือเพิ่มเติมร่วมกับ ทั้ง สช. สปสช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาให้เกิดเป็นนโยบายที่แท้จริง” ดร.ชาติวุฒิ กล่าว
นางสาวนาเดีย ทวีพงศธร นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ประธานโครงการร่วมจาก TYPI กล่าวว่า โครงการ Thailand Youth Policy Initiative 2023 เป็นโครงการการแข่งขันการระดมความคิดเพื่อร่วมเสนอ แนวทางการแก้ไขปัญหาทางสุขภาพในสังคม ผ่านการพัฒนาร่างนโยบายและนวัตกรรมทางสังคม โดยหัวข้อหลักของโครงการในปี 2566 คือ สุขภาวะทางจิตในชุมชน (Community Mental wellbeing) และสังเกตเห็นได้ว่าหลายๆ ทีมจะมองเห็นปัญหาในโรงเรียนมากขึ้น เพราะมองว่าโรงเรียนเป็นหนึ่งในชุมชน และเห็นว่าเด็กยังมีปัญหาสุขภาวะทางจิตอยู่ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า เพื่อหาแนวทางที่นอกเหนือจากที่มีอยู่ เช่น ครูแนะแนวในโรงเรียน นักจิตวิทยาในโรงเรียน เป็นต้น
สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานนวัตกรรมและนโยบายสาธารณะด้วยการแก้ปัญหาสุขภาวะทางจิตอย่างเป็นระบบ (Mental Wealth) โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในชื่อ ทีมป้าข้างบ้าน ที่สร้างนวัตกรรมที่เกิดจากค่านิยมของคนไทยที่มองว่า “ป้าข้างบ้าน” เป็นคนอื่นที่มาสนใจเรื่องชาวบ้าน โดยการศึกษาชุมชนต้นแบบพบปัญหาสำคัญต่อสุขภาพจิต คือ 1. ขาดแคลนความรู้และขาดการเข้าถึง 2. ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและความปลอดภัย และ 3. การซ่อนเร้นความรู้สึกและผู้ป่วยแอบแฝง โดยมีหลักสำคัญคือ 1. นโยบาย Community Heroes ด้วยการให้ อสม. เป็นแกนนำในการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตร่วมกับทางกาย 2. นโยบายวัคซีนใจ คือ การมีพื้นที่ในการเป็นที่ปรึกษาทางใจให้กับชาวบ้าน พัฒนาการสื่อสารสร้างความเข้าใจ 3. Protect your Heart เสนอให้มีการตรวจสุขภาพจิตในการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อการคัดครอง 4. Family First Safe หน่วยงานที่เกี่ยวกับเด็กและครอบครัว เข้ามาให้ความรู้พ่อแม่ในการมีบุตรตั้งแต่ก่อนและหลังตั้งครรภ์ เพื่อให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ และ 5. Mental Wealth for Education ส่งเสริมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสุขภวะทางจิตในสถานศึกษา รวมทั้งสนับสนุนให้มีนักจิตวิทยาในโรงเรียน รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 คือ ผลงานนวัตกรรมและนโยบายจาก ทีม Psykidder ที่มองปัญหาสุขภาพจิตและสิ่งแวดล้อมมาคู่กัน จึงมีแนวคิดในการแก้ปัญหาทั้ง 2 ด้านไปพร้อมกันผ่านการใช้แอปพลิเคชัน WELLCOMM รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานนวัตกรรมและนโยบาย ‘เหนี่ยวใจ ไปสวรรค์’ โดย ทีม Panacea ที่นำปัญหาการสูบบุหรี่และเสพสิ่งเสพติดในวัยรุ่น และการขาการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตมาพัฒนาต่อยอด และรางวัลชมเชย คือ ผลงานนโยบายบรรจุเนื้อหาเรื่องสุขภาวะทางจิตลงในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนวัตกรรม บอร์ดเกม Oh, My Mind! โดย ทีมชนะเดี๋ยวบอก ที่เจาะกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชน ทำอย่างไรเพื่อให้เด็กสนใจสุขภาวะทางจิตมากขึ้น
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด