ประวัติ “เปรมชัย กรรณสูต” ประธาน บมจ.อิตาเลียนไทย ย้อนรอยคดีล่าเสือดำ
เปิดประวัติเศรษฐีอาณาจักร บมจ.อิตาเลียนไทย “นายเปรมชัย กรรณสูต” กับปมคดีอุกอาจฆ่าเสือดำ สัตว์ป่าคุ้มครองในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตวป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อำเภอทองผาถูมิ จังหวัดกาญจนบุรี หลังจากที่กรมราชทัณฑ์ประกาศปล่อยตัวแบบไม่ติดกำไล EM อ้างสาเหตุจากปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ แต่ยังคุมประพฤติต้องมารายงานตัวตามที่กำหนด ส่งผลให้สื่อสังคมเกาะติดลุ้นส่อแววรอดคุกหรือไม่?
รู้จัก “เปรมชัย กรรณสูต” กับคดีฆ่าเสือดำป่าสงวน
สำหรับ “เปรมชัย กรรณสูต” หรือ “เจ้าสัวเปรมชัย” เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2497 ปัจจุบันอายุ 68 ปี เป็นบุตรชายคนเล็กจากพี่น้องทั้งหมด 5 คน ของ บิดา นพ.ชัยยุทธ์ และมารดา ม.ร.ว.พรรณจิตร กรรณสูต ภรรยาคือ นางคณิตา กรรณสูต มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่ นายปีติ, นางสาวปราชญา และนายธรณิศ กรรณสูต ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทยฯ รวมถึงกรรมการบริษัท
สำเร็จการศึกษา ด้านวิศกรรมเหมืองแร่ และปริญญาโทบริหารธุรกิจ จาก University of Southern California จากนั้นจึงได้เริ่มต้นทำงานตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 30 ปี ที่อิตาเลียนไทย
ภายหลังได้รับช่วงบริหาร “อิตัลไทย” ต่อจากบิดาเมื่อปี 2522 ต่อมา ในปี 2537 เปรมชัย ได้เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ จนทำให้ปัจจุบัน นายเปรมชัยมีสัดส่วนการถือหุ้นสูงสุดในอิตาเลียนไทย 14.88 เปอร์เซนต์ คิดเป็นจำนวนหุ้นสูงถึง 785 ล้านหุ้น และดำรงตำแหน่งเป็น ประธานบริหารและกรรมการ “บมจ.อิตาเลียนไทยฯ” หรือ “บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)” ( ITALIAN-THAI DEVELOPMENT PUBLIC COMPANY ชื่อย่อว่า ITD)
ทั้งนี้ เปรมชัย ยังมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ พล.อ.อ.หม่อมหลวงชนากร วรวรรณ ผู้เป็นถึงอดีตเจ้ากรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ อีกด้วยนั่นเอง
จุดเริ่มต้น “คดีเสือดำ”
นายเปรมชัย ได้ปรากฏและเป็นที่รู้จักต่อสื่อมวลชนอีกครั้ง กรณีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธุ์ 2561 เปรมชัยและคณะรวม 4 คน ได้ลุกล้ำเข้ามาตั้งค่ายพักในบริเวณจุดห้ามตั้ง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
กระทั่งเจ้าหน้าที่ได้มาตรวจค้นก่อนพบ ปืน กระสุนปืน มีดปลายแหลม อุปกรณ์ทำครัว ซากไก่ฟ้าหลังเทา เนื้อเก้ง และพบ “ซากเสือดำ” ที่เป็นหนึ่งในสัตว์ ป่าคุ้มครองของประเทศไทย
ส่งผลให้นายเปรมชัย ถูกเจ้าหน้าที่จึงแจ้ง 8 ข้อหากับเปรมชัยและพวก และได้ทนายความยื่นประกันตัว ด้วยเหตุการณ์ลักลอบเข้ามาในป่าและล่าสัตว์สงวนอย่างผิดกฎหมาย ทำให้สื่อมวลชนและสังคมไทยในเวลานั้นต่างแสดงความคิดเห็นวิพากย์วิจารณ์เกี่ยวกับ “คดีเสือดำ”
นอกจากนี้ หัวหน้าหน่วยเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร “วิเชียร ชินวงษ์” ก็ได้รับคำกล่าวชื่นชมจากสังคม จากการปฏิเสธไม่รับสินบนที่กลุ่มพรานล่าสัตว์ของเปรมชัยหยิบยื่นข้อเสนอให้
ต่อมาใน วันที่ 8 ธันวาคม 2564 ศาลจังหวัดทองผาภูมิได้ตัดสินจำคุกเปรมชัย เป็นเวลา 2 ปี 21 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ประชนต่างปราบปลื้มยินดีที่อย่างน้อยเปรมชัยก็ได้รับโทษตามกฎหมายอย่างที่ควรจะเป็น ปิดแฟ้มคดีเสือดำที่ดำเนินการต่อสู้มาอย่างยากเย็นตลอดระยะเวลา 3 ปี
ศาลสั่งปล่อยตัว “เปรมชัย” ไร้แววกำไล EM
ล่าสุดเมื่อวันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2566 กรมราชทัณฑ์ เผยแพร่เอกสารเกี่ยวข้องกับกระแสข่าวปล่อยตัว เปรมชัย กรรณสูต คดีเสือดำ โดยระบุว่า “ด้วยกรมราชทัณฑ์ ได้กำหนดให้มีการประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัยลดวันต้องโทษจำคุก ครั้งที่ 13/2566 ในวันที่ 17 ตุลาคม 2566 โดยมีผู้ต้องขังที่เข้ารับการพิจารณารวมทั้งสิ้น 567 ราย อนุมัติ 484 ราย ไม่อนุมัติ 83 ราย โดยกลุ่มที่อนุมัติปล่อยตัวลดวันต้องโทษจำคุก ในวันที่ 17 ตุลาคม 2566 มีจำนวน 113 ราย
ซึ่งในกลุ่มนี้มีนักโทษเด็ดขาดเป็นที่สนใจของสังคม จำนวน 1 ราย ได้แก่ นาย เปรมชัย กรรณสูต ต้องโทษอยู่ที่เรือนจำอำเภอทองผาภูมิ ในความผิดฐาน พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ , พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า , พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม , มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต , ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
ทั้งนี้ มติที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ได้เห็นชอบอนุมัติให้ปล่อยตัวลดวันต้องโทษจำคุกเพื่อคุมความประพฤติ นายเปรมชัย ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2566 และจะพ้นโทษในวันที่ 7 ธันวาคม 2566 แต่เนื่องจาก นายเปรมชัย มีปัญหาด้านสุขภาพ ตรงบริเวณข้อเท้าที่เคยถูกคว้านเนื้อที่ตายจากอาการเบาหวานลงขา เพราะป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมได้ยาก และหากให้อุปกรณ์ดังกล่าว จะมีการเสียดสีจนเกิดบาดแผลที่รุนแรงขึ้นอีก
ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบำบัดรักษาในกรณีฉุกเฉิน คณะอนุกรรมการฯ จึงมีมติเห็นควรไม่ให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) ทั้งนี้ เมื่อปล่อยตัวคุมประพฤติจะต้องมารายงานตัวและอยู่ภายใต้เงื่อนไขคุมความประพฤติจนกว่าจะครบกำหนดโทษจริงต่อไป”
อ้างอิง : 1