ข่าวสารกรุงเทพฯ

ส.อ.ท.ปรับเป้าผลิตเพื่อจำหน่ายในไทยลดลง 2 แสนคัน เหลือ 550,000 คัน


ส.อ.ท.เผยปัจจัยบวก-ลบ กระทบการผลิตรถเพื่อจำหน่ายในไทย ทั้งหนี้ครัวเรือนสูงร้อยละ 90 ของ GDP การลงทุนจากต่างประเทศรวมทั้งดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อฯ


ส.อ.ท.ปรับเป้าตัวเลขผลิตรถเพื่อจำหน่ายในไทยลดลง 2 แสนคัน เหลือ 550,000 คัน 

สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์  ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากตัวเลขการผลิตที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง รวมทั้งปัจจัยที่กระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2024 ส.อ.ท.จึงได้ปรับเป้าตัวเลขการผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศลดลงจากเดิม โดยคงตัวเลขผลิตเพื่อส่งออกไว้

ตัวเลขเดิมได้ตั้งเป้าปี 2567

  • ผลิตเพื่อส่งออก 1,150,000 ล้านคัน 
  • ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 750,000 คัน

ตัวเลขใหม่ ปรับลดเป้าปี 2567

  • ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลง 2 แสนคัน เหลือ 550,000 คัน

ดังนั้น เป้าหมายรวมจะลดลงจากเดิมที่ตั้งไว้ 1.9 ล้านคัน เหลือเพียง 1.7 ล้านคัน เท่านั้น รวมทั้งยังได้แจกแจงปัจจัยบวก-ลบที่กระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ปีนี้ ทั้งกระทบการส่งออกและการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ดังนี้ 

ส.อ.ท.ลดเป้า 2024

ปัจจัยลบของการปรับยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลง

  • หนี้ครัวเรือนสูงถึงร้อยละ 90 ของ GDP ประเทศในขณะที่รายได้ครัวเรือนยังต่ำจากเศรษฐกิจที่เติบโตต่ำ
  • การลงทุนจากต่างประเทศรวมทั้งดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังลดลงมาหลายเดือนแล้ว คนงานมีรายได้ลดลง ประชาชนระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น
  • หน่วยงานเศรษฐกิจหลายแห่งลดการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยลง
  • สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์โดยเฉพาะรถกระบะ
  • จำนวนแรงงานวัยทำงานน้อยกว่าเพื่อนบ้านจากอัตราการเกิดต่ำ จะทำให้นักลงทุนลังเลในการลงทุนเพราะเป็นสังคมสูงอายุ

ปัจจัยบวกของการปรับยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลง

  • รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายและการลงทุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี2567
  • งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 เบิกจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ซึ่งจะทำให้รัฐบาลใช้จ่ายและลงทุนรวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามนโยบาย
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติและการส่งออกยังเติบโตชึ่งจะช่วยให้ภาคอุตสากรรมผลิตได้มากขึ้น คนงานมีรายได้มากขึ้น
  • ความขัดแย้งระหว่างประเทศไม่ขยายตัวหรือเพิ่มขึ้นอีกในแห่งอื่นของโลกซึ่งจะส่งผลถึงการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วน
  • ธนาคารกลางสหรัฐอาจลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดอัตราดอกเบี้ยได้ ภาระของลูกหนี้อาจลดลงซึ่งจะช่วยให้มีอำนาจซื้อมากขึ้น
  • คาดหวังว่าจะมีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้นจากการเดินทางไปชักชวนนักลงทุนรายใหญ่ๆตั้งแต่ปีที่แล้วซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีรายได้มากขึ้น เศรษฐกิจของประเทศเติบโต หนี้ครัวเรือนจะได้ลดลง
  • เริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชดเชยอัตรา 1:1ของรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้ามาจำหน่ายในปี 2565 – 2566

ปัจจัยบวก-ลบ อุตสาหกรรมยานยนต์ มิ.ย. 2024

ปัจจัยลบของการคาดการณ์ยอดผลิตเพื่อส่งออกเท่าเดิม

  • สงครามการค้าและสงครามยูเครนกับรัสเซียและสงครามอิสราเอลกับฮามาสอาจบานปลาย
  • การเพิ่มการเข้มงวดในการควบคุมเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐอเมริกาอาจส่งผลให้เกิดการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์
  • ถ้าเศรษฐกิจจีนโตในอัตราต่ำจะส่งผลต่อเศรษฐกิจประเทศในเอเชียซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับสองรองจากตลาดออสเตรเลีย

ปัจจัยบวกของการคาดการณ์ยอดผลิตเพื่อส่งออกเท่าเดิม

  • ยอดขายรถยนต์ของประเทศคู่ค้ายังเติบโต
  • คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐจะลดอัตราดอกเบี้ยลง
  • เศรษฐกิจของประเทศจีนที่ยังเติบโตส่งผลดีต่อประเทศในเอเชียที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ 28 ของรถยนต์ที่ไทยส่งออก

บทความที่น่าสนใจ

อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน



Source link