สาระน่ารู้สุขภาพ

การตั้งค่าในนาฬิกา Apple watch เพื่อตรวจจับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การใช้นาฬิกา smart watch เพื่อตรวจจับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (2)

อ.นพ.อนุรุธ ฮั่นตระกูล
แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ เชี่ยวชาญระบบไฟฟ้าหัวใจ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
————————

ตามที่เกริ่นไปใน post ที่แล้วเรื่องการใช้ smart watch ในการตรวจจับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
https://www.facebook.com/share/p/1BnEtjE9Tr/

ใน post นี้จะมาสอนการตั้งค่านาฬิกา apple watch เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้นกันครับ
1. เข้า app “Watch” ใน iphone

การใช้นาฬิกา smart watch เพื่อตรวจจับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (2)
2. เลื่อนลงมาที่ “Heart” หรือ “หัวใจ”

การใช้นาฬิกา smart watch เพื่อตรวจจับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (2)
3. เปิดการแจ้งเตือน Irregular rhythm หรือ จังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอ ในกรณีที่ไม่เคยถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจเต้นระริก หรือ atrial fibrillation

การใช้นาฬิกา smart watch เพื่อตรวจจับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (2)
4. ตั้งค่า High heart rate หรือ อัตราหัวใจเต้นเร็ว โดยทั่วไปแนะนำที่ 140-150 ครั้งต่อนาที
5. ตั้งค่า Low heart rate หรืออัตราหัวใจเต้นช้า โดยทั่วไปแนะนำที่ 40 ครั้งต่อนาที
6. ตั้งค่า AFIB history หรือประวัติการเป็น Atrial fibrillation ในกรณีที่ทราบอยู่แล้วว่ามี ภาวะหัวใจเต้นระริก หรือ atrial fibrillation เพื่อตรวจหาความถี่ของการเป็น (ต้องเลือกเปิดข้อ 3 หรือ 6 อย่างใดอย่างนึงเท่านั้น)

โดยที่การแจ้งเตือน Irregular rhythm หรือ จังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอ จะเป็นการสุ่มวัดความสม่ำเสมอของชีพจร ด้วยแสง LED จากนาฬิกา โดยจะทำขณะที่ไม่มีการคลื่นไหว โดยเครื่องจะนำไปวิเคราะห์และ จะแจ้งเตือนออกมา โดยจะไม่ได้แจ้งเตือนทันทีที่เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้น และภาวะหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอที่เครื่องแจ้งเตือน อาจมีสาเหตุจากอย่างอื่นที่ไม่ใช้ atrial fibrillation ได้ ดังนั้นหากได้รับการแจ้งเตือนดังกล่าว แนะนำให้มาปรึกษาแพทย์โรคหัวใจ เพื่อการตรวจยืนยันเพิ่มเติม

การแจ้งเตือนอัตราหัวใจเต้นเร็วหรือช้า นาฬิกาจะแจ้งเตือนเฉพาะกรณีที่หัวใจเต้นเร็วหรือช้าเกินกว่าที่ตั้งค่าไว้ขณะที่ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกายเท่านั้น โดยทั่วไปอาจพบภาวะหัวใจเต้นช้ากว่า 40-50 ครั้งได้เป็นปกติ ในกรณีที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หรือขณะหลับ จึงอาจยังไม่ต้องกังวล หากยังไม่มีอาการผิดปกติ เช่น เหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลม หรือวิงเวียน

การตั้งค่า AFIB history หรือประวัติการเป็น Atrial fibrillation จะทำการตรวจหาความถี่ของอัตราชีพจรไม่สม่ำเสมอใน 7 วันที่ผ่านมา โดยรายงานออกมาเป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์ ในกรณีที่ไม่พบภาวะ Atrial fibrillation เครื่องจะรายงานว่า AF burden < 2%

จะเห็นว่าในปัจจุบันเทคโนโลยี smart watch เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในทางการแพทย์ โดยข้อมูลที่ได้มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัย และตรวจติดตามภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่ในอีกแง่มุมนึง การแจ้งเตือนต่างๆเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลต่อผู้ใช้ และคนในครอบครัวได้ ดังนั้น หากยังไม่มีอาการทางหัวใจชัดเจน แนะนำให้ทำใจสบาย ๆ มั่นสังเกตอาการต่อเนื่อง และพบแพทย์โรคหัวใจเพื่อการตรวจเพิ่มเติม นอกจากนั้นการดูแลสุขภาพโดยทั่วไป เช่น การออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ การกินอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงของหวาน ของทอด ของมัน แอลกอฮอล์ การงดบุหรี่ การควบคุมน้ำหนักและรอบเอวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การดูแลสุขภาพจิต และการกินยาและตรวจติดตามโรคประจำตัวอย่างสม่ำเสมอ ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว

 

อ่านต่อได้ที่ https://www.facebook.com/share/p/12F3vDuaj46/