ข่าวสารกรุงเทพฯ

ดร.เสรี เตือนปีนี้ยังเหลือพายุอีก 19 ลูก ตอบไม่ได้เข้าไทยไหม ย้ำอย่าประมาท


ดร.เสรี เตือนปีนี้ยังเหลือพายุ 19 ลูก ชี้ยังตอบไม่ได้เข้าไทยไหม ย้ำอย่าประมาท ชี้พลังงานสูงสร้างความเสียหายได้

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ยังมีพายุอีก 19 ลูกปีนี้กับความเหมือนที่แตกต่างระหว่างน้ำท่วมไทยกับจีน ปีนี้กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ปรากฏการณ์ เอลนิโญ (El Nino) โดยระดับปัจจุบันประมาณ 1.1 oC และคาดการณ์จะเพิ่มขึ้นเป็น > 1.5 oC ในช่วงปลายปีนี้ ดังนั้น ผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศไทยจะรุนแรงมากขึ้น ร้อน แล้ง น้ำน้อย ตั้งแต่ 6-9 เดือน นับจากเดือนมกราคมปี 2567 วางแผนกันให้ดีน่ะครับ แนะนำไปแล้วหลายมาตรการ

อย่างไรก็ตาม สัปดาห์ที่ผ่านมาไต้ฝุ่นทกซูรีได้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงกับ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และจีน หนักที่สุดคงเป็นที่จีน ปริมาณฝน 3 วัน ที่มณฑลเหอเป่ย์ 1,003 มม. เท่ากับปริมาณฝนเฉลี่ย 6 เดือน ต้องไม่ลืมว่าก่อนพายุลูกนี้จะเข้าจีน ซึ่งเจอกับคลื่นความร้อนหลายสัปดาห์ โดยข้อมูลจำนวนพายุเกิดขึ้น มากกว่าปกติในปี El Nino ปีนี้คาดการณ์ประมาณ 29 ลูก (Accumulated Cyclone Energy, ACE = 382) จากเฉลี่ย 26 ลูก (ACE = 290) ปัจจุบันมีพายุเกิดแล้ว 10 ลูก จึงเหลืออีกประมาณ 19 ลูกที่ยังคงจะเกิดตั้งแต่เดือนสิงหาคมไปจนสิ้นปี โดยทั่วไป พายุมักรุนแรงในปี El Nino มีอายุยาวโดยเส้นทางการเดินทางไกล มักม้วนขึ้นบน เช่นกรณีไต้ฝุ่นทกซูรีเดินทางในทะเลประมาณ 2,000 km ทำให้สะสมพลังงานได้มาก และในขณะที่ขึ้นฝั่งที่มณฑลฝูเจี้ยนยังเป็นไต้ฝุ่น และเดินทางต่อเข้าไปยังมณฑลเหอเป่ย์กว่า 1,500 km จึงลดกำลังลง

พายุที่เหลืออยู่ในปีนี้ 19 ลูกมีโอกาสเข้าประเทศไทยไหม เข้าที่ไหน ไม่มีใครตอบได้ก่อนพายุเข้า 5 วัน ยกเว้นเอาค่าเฉลี่ยมาบอก 1-2 ลูก อย่างไรก็ตาม ถ้าดูตามสถิติปี El Nino ที่รุนแรงในอดีต ปี 2540 ไต้ฝุ่นลินดาเข้าที่ประจวบฯต้นเดือนพฤศจิกายน และ ปี 2558 ไม่มีพายุเข้าประเทศไทย แต่ต้องไม่ประมาท เพราะปีนี้พายุมีพลังงานสูง ถ้าเข้าประเทศไทยจะเกิดความเสียหายได้เช่นเดียวกัน กล่าวโดยสรุป ปี El Nino พายุมีโอกาสน้อยเข้าประเทศไทย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก [email protected] ได้ที่นี่

Line Image

matichon





Source link