ข่าวสารกรุงเทพฯ

ปัจจัยเสี่ยงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย PERFECT STORM ที่ SMEs พึงระมัดระวัง


ระยะเวลาที่เหลือในไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 จนถึงปีหน้า จึงเต็มไปด้วย Perfect Storm ที่ SMEs จะต้องเผชิญ ต้องระมัดระวัง เอาตัวรอดให้ได้ !

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SME Sentiment Index:SMESI) ประจำเดือนสิงหาคม 2566 เปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่าค่าดัชนี SMESI ยู่ที่ระดับ 51.4 ลดลงจากระดับ 52.0 จากกำลังซื้อผู้บริโภคที่ชะลอลง ปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งลดลง ตามภาระค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลต่อความมั่นใจในการลงทุนของผู้ประกอบการและการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน ทำให้กระทบกับยอดขายและปริมาณการผลิต/การบริการเกือบทุกภาคธุรกิจ 

SMEs ที่เผชิญกับวิกฤติโควิดมายาวนานเกือบ 3 ปี เป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ไดรับผลกระทบมากที่สุด เป็นกลุ่มที่เป็น NPL สูงที่สุดของสถาบันการเงิน ต้องปิดกิจการเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ภาวะวิกฤติโควิดจะเบาบางลง เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ฟื้นตัวดีกว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 จากมุมมองของ SCB Economic Intelligence Center (SCB EIC) แต่เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญความเสี่ยงจากหลายปัจจัย ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SME จึงมีค่าลดลง SMEs ยังมีความเปราะบางจากปัจจัยเสี่ยงหลายด้านที่ต้องระมัดระวัง

ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสำคัญอันดับแรกคือกระแสเงินสดของกิจการ ในปี 2566 SCBEIC คาดการการณ์ว่า ธุรกิจที่มีกำไรน้อยกว่าภาระดอกเบี้ยที่จ่าย เพิ่มขึ้นมากที่สุดในกลุ่มธุรกิจ SME โดยมีสัดส่วนถึง 29% เทียบกับปี 2564 ก่อนโควิด มีอยู่ 16%  อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มขึ้นทำให้ภาคธุรกิจแบกรับภาระดอกเบี้ยที่สูง ส่งผลต่อความอ่อนไหวของภาคธุรกิจ SMEs ภาระหนี้ครัวเรือนไทยที่อยู่ในระดับสูง 

โดยสัดส่วน 57% มีหนี้เกิน 100,000 บาท ต่อคน และ 4% มีหนี้เกิน 1 ล้านบาทต่อคน โดยคนไทยมีหนี้เฉลี่ยประมาณ 520,000 บาท ต่อคน สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP อยู่ที่ 90.6 % เป็นสินเชื่อส่วนบุคคล 39% สินเชื่อบัตรเครดิต 29% สินเชื่อการเกษตร 12% สินเชื่อรถยนต์ 10% สินเชื่อรถจักรยานยนต์ 2% สินเชื่อที่อยู่อาศัย 4% สินเชื่อธุรกิจมีเพียงแค่ 4% กลุ่มหนี้ครัวเรือนไทยกระจุกตัวอยู่ที่สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นหนี้เพื่อการจับจ่ายใช้สอยไม่ใช่หนี้เพื่อการลงทุน 

ส่งผลต่อการกดดันในระยะยาวต่อการบริโภคของคนในประเทศที่ลดลง เนื่องจากรายได้ที่เข้ามาต้องนำไปชำระหนี้ กำลังซื้อของคนไทยจึงมีแนวโน้มที่ลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ SMEs ในการจำหน่ายสินค้าและบริการทำให้รายได้ไม่เป็นไปตามประมาณการ จนไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้ และมีแนวโน้มที่ NPLจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต คาดว่าโลกจะเผชิญเอลนิโญจนถึงปีหน้า หรืออาจจะนานกว่านั้น จากปริมาณน้ำฝนในช่วงสิงหาคม 2566 ภาพรวมทั้งประเทศไทยน้อยลงกว่าช่วงปีที่ผ่านมาถึง 27%

ส่งผลกระทบต่อการผลิตในภาคเกษตร ทั้งข้าวและอ้อยมีราคาที่แพง ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลต่อเงินเฟ้อในปีหน้า ซึ่งผลต่อการฉุดเศรษฐกิจให้ซบเซาได้ในที่สุด การส่งออกของไทยทีดีขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2565 แต่จากการซบเซาของภาวะเศรษฐกิจคู่ค้าทั่วโลก โดยเฉพาะจีนที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ของไทยก็ชะลอตัว 

ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2565 ดัชนีการส่งออกของไทยลดลง 15% กระทบต่อภาคการส่งออก ผลกำไรของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ของไทยลดลง 7% รัฐบาลตั้งความหวังจะสร้างรายได้จากภาคการท่องเที่ยว โดยเปิดฟรีวีซ่ารับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน

แต่นักท่องเที่ยวยังคงใช้จ่ายอย่างประหยัด นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฟื้นตัวได้ดี เกือบ 17 ล้านคน ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา อาจไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ในปีหน้า การใช้จ่ายภาครัฐที่ชะลอตัวจากการตั้งรัฐบาลที่ล่าช้า รวมถึงการชำระหนี้เงินกู้ภาครัฐและงบลงทุนที่ถูกใช้ในระดับที่ต่ำ ทำให้เศรษฐกิจไม่ได้รับการกระตุ้นมากนัก ความหวังที่ GDP จะเติบโตมากว่า 4% อาจไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง

พอตื่นเช้าขึ้นมาก็ได้รับแต่ข่าวไม่ดี มากกว่าข่าวดี ระยะเวลาที่เหลือในไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 จนถึงปีหน้า จึงเต็มไปด้วย Perfect Storm ที่ SMEs จะต้องเผชิญ ต้องระมัดระวัง เอาตัวรอดให้ได้ครับ…



Source link