ข่าวสารกรุงเทพฯ

เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร | ข้อมูลเขต สถานที่ติดต่อ และเบอร์โทรศัพท์

เขตพญาไท เป็น 1 ใน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของกรุงเทพฯ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่หนาแน่น รวมถึงเป็นแหล่งทำมาค้าขายที่คึกคัก อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการที่สำคัญมากมาย เช่น กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ สโมสรทหารบก สนามกีฬากองทัพบก กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กระทรวงการคลัง กรมสรรพากร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ทรูวิชั่นส์ สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา โรงพยาบาลทหารผ่านศึก และโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย เป็นต้น

เขตพญาไท เดิมมีชื่อว่าอำเภอพญาไท ซึ่งตั้งชื่อตามวังพญาไทอันเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งแต่เดิมเป็นเขตทุ่งนาขนาดใหญ่เรียกว่าทุ่งพญาไท มีพื้นที่ในการดูแล 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี ตำบลมักกะสัน ตำบลสามเสนใน ตำบลห้วยขวาง และตำบลบางกะปิ

ต่อมาเมื่อจังหวัดพระนครถูกยุบรวมกับจังหวัดธนบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2514 แล้วจัดตั้งจังหวัดใหม่ชื่อ จังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี แล้วเปลี่ยนชื่อีกครั้งเป็นกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ. 2515 อำเภอพญาไทยจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเขตพญาไท เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารราชการรูปแบบใหม่ด้วย

เมื่อพื้นที่เจริญขึ้น มีประชากรเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น การบริหารราชการและการบริการประชาชนเริ่มไม่ทั่วถึง จึงได้มีการแบ่งพื้นที่อำเภอพญาไทออกเป็นเขตต่าง ๆ หลายเขต ได้แก่ เขตห้วยขวาง ในปี พ.ศ. 2516 เขตราชเทวี ในปี พ.ศ. 2532 และเขตดินแดง ในปี พ.ศ. 2537

ภาพแสดงที่ตั้งเขตพญาไท

ข้อมูลสำคัญของเขตพญาไท

พื้นที่ : 9.595 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 64,037 คน (31 ธันวาคม 2566 กรมการปกครอง, กระทรวงมหาดไทย)
คำขวัญ : เขตพญาไทยิ่งใหญ่ด้วยสถาน หน่วยงานทหารกระทรวงการคลัง โทรทัศน์ดังช่องห้าสี อีกทั้งกรมประชาสัมพันธ์ สถานสำคัญการสื่อสาร สะพานควายหนาแน่นผู้คน พหลโยธินรถไฟฟ้า ชาวประชาสุขสันต์

เขตพญาไท แบ่งการปกครองออกเป็น 2 แขวง ดังนี้

  • แขวงพญาไท
  • แขวงสามเสนใน

สถานที่ติดต่อ : สำนักงานเขตพญาไท เลขที่ 13 ซอยอารีย์สัมพันธ์ 2 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์ : 0 2279 4141

รหัสไปรษณีย์ : 10400

อาณาเขต
ทิศเหนือ – ติดต่อกับเขตจตุจักร
ทิศตะวันออก – ติดต่อกับเขตดินแดง
ทิศใต้ – ติดต่อกับเขตดินแดง และเขตราชเทวี
ทิศตะวันตก – ติดต่อกับเขตดุสิต


แผนที่เขต
พญาไท

ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ