ข่าวสารกรุงเทพฯ

TEEB หนุนไทยที่แรกของเอเชีย วิจัยการปลูกข้าวยั่งยืน


13 ..66 – TEEB หนุนไทยนำร่องที่แรกของเอเชีย วิจัยการปลูกข้าวยั่งยืน มอบ มข.ศึกษา พบดีกว่าปลูกแบบเดิมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดต้นทุนการผลิต กำไรต่อไร่เพิ่มและสุขภาพดี

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ United Nations Environment Programme และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดงานประชุมเสวนาพร้อมเผยผลการศึกษา เรื่อง “ข้าวยั่งยืนเพื่อชีวิตและธรรมชาติ” ภายใต้โครงการ The Economics of Ecosystems and Biodiversity (TEEB) โดยมี นายจิรวัฒน์ ระติสุนทร รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย Prof. Salman Hussain ผู้แทนจาก United Nations Environment Programme แนะนำโครงการ TEEB Agri Food และปาฐกถาเรื่อง แนวโน้มมาตรฐานข้าวโลก สู่ทิศทางมาตรฐานข้าวไทย การผลิตข้าวเพื่อให้เราดูแลโลก โดย นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) ร่วมด้วย การนำเสนอผลการศึกษา “Measuring what matters in sustainable rice production” โดยรศ.ดร.ภูมิสิทธิ์ มหาสุวีระชัย มหาวิทยาลัยขอนแก่นและคณะ  พร้อมทั้งการเสวนาหัวข้อ “ข้าวยั่งยืน จะยั่งยืนได้ต้องทำอย่างไร” โดย ดร.วัลลภ มานะธัญญา อุปนายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ดร.อรรถวิชช์ วัชรพงศ์ชัย ผู้อำนวยการปฎิบัติการโครงการข้าว (GIZ) นายวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชนและ นางสวณีย์ โพธิ์รัง ผู้แทนเกษตรกรปลูกข้าวยั่งยืน ร่วมเสวนา  ห้องประชุม Le Lotus1 โรงแรม Swissotel Bangkok Ratchada กรุงเทพมหานคร

รศ.ดร.ภูมิสิทธิ์ มหาสุวีระชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) และ หัวหน้าคณะศึกษาโครงการประเมินค่าของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในการพัฒนาระบบผลิตข้าวในประเทศไทย กล่าวว่า งานวิจัยดังกล่าว อยู่ภายใต้การขับคลื่อนโครงการ The Economics of Ecosystems and Biodiversity (TEEB) For Agriculture and food หรือ TEEB AgriFood ประเทศไทย ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และ EU Partnership Instrument (EUPI) โดยพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจ และผลกระทบที่มีต่อทุนมนุษย์ละทุนทางสังคม ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่คุณค่าของข้าวไทย โดยอาศัยกรอบการประเมินตามแนวทางของ TEEBAgriFood ซึ่งมีตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับแนวคิดเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืน และผลการศึกษายังสามารถช่วยเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจเชิงนโยบายในการส่งเสริมรูปแบบเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio Circular Green economy model) ซึ่งเป็นกรอบสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารด้านการเกษตรของโลก จึงได้รับเลือกเป็นประเทศนำร่อง โดยเป็นตัวแทนของทวีปเอเชียในการศึกษาเรื่องดังกล่าว คณะผู้จัดทำคาดหวังผลการศึกษาจะนำไปสู่การผลักดันนโยบายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคการผลิตด้านการเกษตร โดยเฉพาะเปลี่ยนจากการผลิตข้าวแบบทั่วไปสู่การผลิตข้าวแบบยั่งยืน

รศ.ดร.ภูมิสิทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางการผลิตข้าวแบบยั่งยืนนั้น ข้าวต้องมีคุณภาพมีความปลอดภัยในอาหารปกป้องสุขภาพและคุ้มครองความปลอดภัยของเกษตรกรผู้ปลูก ผู้ปฏิบัติรวมถึงชุมชน และต้องเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนเพิ่มรายได้ จากการใช้เทคโนโลยีการผลิตและการจัดการที่เพิ่มประสิทธิภาพ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า  ทั้งนี้ ในการศึกษาวิจัย ใช้การสร้างฉากทัศน์จำลองการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนพื้นที่ปลูกข้าวแบบทั่วไปและการปลูกข้าวแบบยั่งยืนระยะเวลา 28 ปี เริ่มตั้งแต่ปี ..2565 – ..2593 โดยจะเพิ่มสัดส่วนพื้นที่ปลูกข้าวแบบยั่งยืน ใน 4 กรณี คือ  1.) ปกติ 2.)  ปานกลาง 3.) ค่อนข้างสูง และ 4.) อัตราสูง จากการศึกษาทั้ง 4 กรณีสันนิษฐานได้ว่า ในปี ..2593 พื้นที่ผลิตข้าวทั้งหมดของประเทศ จะมีพื้นที่ปลูกข้าวแบบยั่งยืนเพิ่มสูงถึง 4 ล้านไร่  9,600,000 ไร่  29,200,000 ไร่ และ43,700,000 ไร่


คณะผู้วิจัยได้เลือกสุ่มสำรวจครัวเรือนเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางเนื่องจากเป็นพื้นที่ปลูกข้าวรวมมากกว่า 80% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งประเทศ และมีผลผลิตรวมกันมากกว่า 80% โดยเป็นพื้นที่รับน้ำฝนและพื้นที่ในเขตชลประทาน ผลการศึกษาพบว่า การปลูกข้าวแบบยั่งยืน ให้ผลที่ดีกว่าในทุกมิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ และผลกระทบที่มีต่อทุนมนุษย์ละทุนทางสังคม ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่คุณค่าของข้าวไทย 


โดยผลที่คาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทุนมนุษย์ ได้แก่ การมีสุขภาพดีขึ้น เนื่องจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรลดลง ทำให้ต้นทุนลดลงไปด้วย ขณะเดียวกันผลผลิตกลับเพิ่มขึ้น จึงสร้างผลกำไรต่อไร่เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนั้นการไม่เผาหลังการเก็บเกี่ยวช่วยลด PM2.5 ทำให้ความเสี่ยงด้านสุขภาพของคนไทยลดลงด้วย ส่วนการเปลี่ยนแปลงในทุนธรรมชาติ อาทิ การส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากมลพิษทางอากาศซึ่งเกิดจากการเผาหลังการเก็บเกี่ยว การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและส่งเสริมคุณภาพน้ำ เป็นต้น  

การปลูกข้าวยั่งยืนไม่เพียงสร้างประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก แต่ยังมีส่วนช่วยกระจายผลประโยชน์ในระดับสูงให้กับเกษตรกร โดยหลักๆ ผ่านการปรับปรุงผลผลิตข้าว ลดต้นทุนการเพาะปลูกส่งผลให้มีกำไรมากขึ้น ซึ่งกำไรจากการปลูกข้าวจะเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่อาจจูงใจให้เกษตรหันมาใช้วิธีการปลูกข้าวยั่งยืนได้

​“การปลูกข้าวแบบยั่งยืน ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับเกษตรกรไทย ซึ่งหลังจากนี้ ผลที่ได้จากการวิจัยจะนำไปสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวแบบยั่งยืนมากขึ้น โดยแนวทางจากการรับประกันความเสี่ยงเรื่องรายได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น รวมไปถึงการส่งเสริมเจ้าหน้าที่ให้เข้าไปแนะนำเกษตรกร เราต้องสร้าง ecosystem ให้ดี โดยหน่วยงานรัฐเข้ามาร่วมกันบูรณาการ เช่น กรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน ธกสและอื่น  มาร่วมสร้างเป็นprototype

เบื้องต้นในฤดูกาลเพาะปลูกปีหน้า มีแผนจะให้มีการปลูกข้าวแบบยั่งยืน ใน 2 จังหวัด คือ ขอนแก่นและร้อยเอ็ดจังหวัดละ 20 หมู่บ้าน และจะขยายให้ถึง 50 หมู่บ้าน ภายใน 1 ปี พร้อมเพิ่มจำนวนเกษตรกรปลูกข้าวยั่งยืนในแต่ละหมู่บ้านด้วย โดยให้หน่วยงานรัฐสามารถมา Plug-in ได้ เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์แล้วเราจะขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวยั่งยืนให้ได้ทั้งจังหวัด ภายใน 5 ปี หลังจากนั้น โมเดลนี้จะสามารถนำไปใช้ได้กับทุกจังหวัดในประเทศไทย โดยปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทของแต่ละพื้นที่ ดังนั้น “ถ้าสร้างตรงนี้ให้เห็นได้ชัด มันจะเกิดโมเมนตัมได้เร็วขึ้น





Source link